วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของ ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ภาคใต้


5.ความหมายของ  ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ภาคใต้
   ความหมายประเพณีไทย


คำว่า ประเพณี หมายถึง ขนบธรรมเนียม แบบแผน (พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน, 2493 : 569)

- ประเพณี คือ ความประพฤติที่หมู่ชนหมู่หนึ่งถือเป้นธรรมเนียม หรือเป็นแบบแผนสืบต่อกันมาจนเป็นพิมพ์เดียวกัน ถ้าใครในหมู่ประพฤตินอกแบบก็เป็นการผิดประเพณี (เสฐียรโกเศศ, 2500/ประเพณีไทย/บทนำ)

- ประเพณีเป็นเรื่องของพิธีปฎิบัติสืบๆ มามีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขคงไว้บ้างประเพณีไทยแสดงถึงความสัญลักษณ์ของชาติ(แปลก สนธิรักษ์, 2523: 193)

- โดยเนื้อหาสาระแล้ว ประเพณี คือ สิ่งที่คนในสังคมส่วนรวมสร้างขึ้นให้เป็นมรดกที่ผู้เป็นทายาทจะต้องรับไว้และปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป รวมทั้งการเผยแพร่ แก่คนในสังคมอื่นอีกด้วย

ประเภทของประเพณี

ประเพณีนั้นเราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. จารีตประเพณี (Mores) คือ ประเพณีที่ต้องประพฤติเป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรมและจรรยาของสังคม ถือกันว่ามีคุณค่าต่อบุคคลในสังคมนั้นๆ ใครฝ่าฝืนหรือเฉยเมยถือว่าเป็นการละเมิดกฎของสังคม ผิดประเพณีของสังคม ถือเป็นความผิดความชั่วมีโทษ เช่น ประเพณีการแต่งงาน เป็นต้น

2. ขนบประเพณี (Institution) คือ ประเพณีที่วางเป็นระเบียบไว้ จะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม โดยตรง เช่น เขียนเป็นกฎหรือระเบียบให้กระทำร่วมกันมีข้ออ้างอิงเป็นตัวบทกฏเกณฑ์ โดยอ้อมหรือโดยปริยาย คือ รู้กันเอง ถือสืบๆกันมา คนในถิ่นนั้นปฎิบัติกันอย่างนั้นๆ เช่น ประเพณีทำบุณเลี้ยงพระของไทย เ็ป็นต้น

3. ธรรมเนียมประเพณี (Convention) คือ เรื่องเกี่ยวกับธรรมดาสามัญของสามัญชน ไม่ถือเอาผิดเอาถูก ไม่มีการลงโทษ ปรับไหมเหมือนจารีตประเพณี ไม่มีระเบียบเคร่งครัดเหมือนขนบประเพณี ผู้ทำผิดประเพณีนี้ไม่ถือเป็นเรื่องเสียหายหรือมีโทษมากนัก เพียงแต่ถือว่าผู้ผิดประเพณีเป็นผู้ไร้ีการศึกษา ขาดคุณสมบัติผู้ดี เช่น การแต่งกายไม่ถูกกาลเทศะ การยืน การเดิน การนั่ง การนอน อันไม่เหมาะสม เป็นต้น

ลักษณะของประเพณีไทย

ประเพณีไทยแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1. ประเพณีส่วนบุคล ได้แก่ ประเพณีเกี่ยวกับการแต่งงาน ประเพณีการเกิด ประเพณีการตาย ประเพณีการบวช ประเพณีการขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีทำบุญอายุ เป็นต้น
2. ประเพณีส่วนรวม ได้แก่ ประเพณีทางศาสนาต่างๆ เช่นประเพณีการทำบุญเข้าพรรษา ออกพรรษา ประเพณีตรุษ สารท ลอยกระทง ประเพณีเทศกาลสงกรานต์ และประเพณีวันสำคััุญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น
     




 อ้างอิง http://ประเพณีไทยๆ.com [20พฤศจิกายน 2556]

การอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ภาคใต้

4.การอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ 
แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น


การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น






    1. การค้นคว้าวิจัย ควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆ ของท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต และสภาพการณ์ในปัจจุบัน     2. การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย     3. การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม     4. การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม     5. การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฎิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ      6. ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง     7. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง โดยให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ด้วยสื่อและวิธีการต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก     8. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน ผู้ดำเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีการยกย่องประกาศเกียรติคุณในลักษณะต่างๆ                                                       8. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน ผู้ดำเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีการยกย่องประกาศเกียรติคุณในลักษณะต่างๆ







อ้างอิง http://orance.exteen.com/20071101/entry-10[20พฤศจิกายน2556]

พิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวกับเรือกอและ

3.พิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวกับเรือกอและ

ชาวประมงพื้นบ้านในจังหวัดปัตตานีมีพิธีกรรมและความเชื่อของชาวเรือว่าในการต่อเรือกอและ ช่างจะหาฤกษ์ดีในการวางไม้ชิ้นแรก โดยมีความเชื่อว่าจะทำให้การต่อเรือกอและลำนั้นๆ เสร็จเร็ว เป็นที่ถูกใจผู้มาสั่งต่อทันทีที่เห็นเรือ เรือทุกลำที่ต่อขึ้นจะไม่มีลำใดรั่วหรือใช้ไม่ได้ มีบางลำที่เรือทรงตัวอย่างไม่สมดุล แต่ผู้ซื้อก็ไม่เคยนำกลับมาให้ช่างต่อเรือแก้ไขซ่อมแซม ผู้ซื้อจะหาวิธีถ่วงเรือของตนจนสมดุลตามต้องการ  ช่างเรือกอและบางคนถือโชคลางมาก เมื่อต่อเรือเสร็จเรียบร้อยจะทำพิธีผูกเงื่อน ละป๊ะโดยการนำใบมะพร้าวมาผูกทำเป็นเงื่อนคล้ายๆ ที่ลูกเสือ
ผูกเชือกแล้วดึงให้หลุดออกจากกัน เชื่อว่าถ้าถึงเงื่อนหลุดง่ายๆ อุปสรรคในการใช้เรือกอแลจะหมดหรือลดน้อยลง ปัจจุบันเมื่อมีการนำเครื่องยนต์มาติดท้ายเรือ พิธีผูกเงื่อนละป๊ะก็หมดไป อาจเป็นเพราะชาวเรือไม่จำเป็นต้องพึ่งลมฟ้าอากาศอย่างแต่ก่อน ใช้เครื่องยนต์ติดท้ายก็สามารถนำเรือออกนอกฝั่งและเข้าฝั่งได้โดยง่ายอยู่แล้ว  ฝ่ายผู้ซื้อนั้นเมื่อเรือกอและที่สั่งต่อเสร็จเรียบร้อยก็จะมารับเรือขึ้นรถบรรทุกไปในสมัยก่อนต้องนำเรือล่องลงน้ำกลับไปยังหมู่บ้านของตน เมื่อถึงที่หมายก่อนนำเรือไปใช้ประโยชน์หรือประกอบอาชีพ เขานิยมทำพิธีเซ่นเสากระโดงเรือหรือภาษายาวีเรียกอากงหมายถึง สำคัญ ยิ่งใหญ่ ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญของเรือ อยู่กลางลำเรือใช้ติดตั้งใบเรือ ผู้ที่เป็นนายท้ายเรือจะต้องไปเซ่นไหว้ที่เสากระโดงนี้ และท่องบ่นคาถาทุกครั้งก่อนออกเรือเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้เกิดความอบอุ่นใจ การเซ่นไหว้ครั้งแรกต้องมีเครื่องเซ่นไหว้ คือ ข้าวเหนียวเหลืองหน้าไก่แบบแกงข้น ข้าวเหนียวเหลืองปลาเค็ม และข้าวตอกเป็นสิ่งสำคัญ ห้ามนำสุราเข้าไปโดยเด็ดขาด (เคร่งครัดตามหลักศาสนาอิสลาม) คาถาที่ท่องนั้นกล่าวเป็นภาษายาวีแบบเดียวกับที่ใช้ในการละหมาด ในการออกเรือแต่ละครั้งอาจมีการนำพวกมาลัยดอกไม้ ผ้าแดง หรือผ้าขาวมาห้อยหรือผูกไว้ตรงหัวเรือเพื่อความเป็นสิริมงคล ชาวเรือกอและไม่ห้ามผู้หญิงขึ้นเรือแต่อย่างใด หากไม่อนุญาตให้ผู้ที่จะลงไปในเรือใส่รองเท้า ทุกคนเมื่ออยู่ในเรือแล้วจะต้องอยู่ในสภาพเปลือยเท้าเปล่าเสมอ

มีธรรมเนียมที่ถือกันมาของชาวไทยมุสลิมว่า เมื่อลงเรือแล้วให้เอ่ยชื่อสัตว์ได้เฉพาะสัตว์น้ำเท่านั้น เพื่อเป็นการให้เกียรติเจ้าถิ่น ห้ามเอ่ยชื่อสัตว์บก อาทิ เสือ สิงห์ กระทิง แรด เพราะถือว่าเป็นการลบหลู่เจ้าถิ่น ซึ่งธรรมเนียมนี้นับว่าตรงข้ามกันชาวไทยพุทธที่เวลาเข้าป่าแล้วให้เอ่ยชื่อสัตว์น้ำ หรือลงน้ำก็ให้เอ่ยชื่อสัตว์บกจึงจะดี เพื่อเป็นการบำรุงขวัญ ตัวอย่างเช่น เมื่อลงเรือแล้วก็จะไม่พร่ำพูดถึงปลาฉลาม หรือจระเข้ให้ขวัญหนีดีฝ่อเป็นการดีกว่าแน่

ในอดีตที่ชายทะเลอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานีมีประเพณีเกี่ยวกับเรือกอและคือประเพณีฉลองชายหาด ซึ่งเป็นงานพิธีของชาวประมงพื้นเมือง เรียกว่า ปูยอ ปาตา” (ปูยอ แปลว่า บูชา, ปาตา แปลว่าหาดทราย) เดิมกำหนด 3 ปีทำครั้งหนึ่งเพื่อเป็นการบูชาเทพเจ้าแห่งทะเล ชาวบ้านจะนำเรือกอและของตนมาจอดเกยชายหาดในบริเวณงานทั้งหมด และประดับประดาเรือของตนด้วยธงทิวต่างๆ เพื่อมารับเอาน้ำมนต์อันศักดิสิทธิ์จากหมอผู้ประกอบพิธี ในงานนี้มีการฆ่าควายเผือกเพื่อนำเนื้อบางส่วนสังเวยเทพเจ้า และส่วนที่เหลือแจกจ่ายแก่ชาวเรือและผู้ที่มาร่วมประกอบพิธี เชื่อว่าพิธีนี้ได้รับอิทธิพลมาจากพวกชาวน้ำ ซึ่งมีความเชื่อว่าคลื่นลมเกิดจากการกระทำของเทพเจ้าแห่งทะเล อย่างไรก็ตามปัจจุบันพิธีนี้ค่อยๆ สูญหายไปเพราะความเจริญในยุคโลกาภิวัตน์เข้ามาแทนที่



อ้างอิง http://culture.pn.psu.ac.th/culture/index.php?option=com_content&view=article&id[20พฤศจิกายน2556]

ประเภทของประเพณีและวัฒนธรรมไทยภาคใต้

2.ประเภทของประเพณีและวัฒนธรรมไทยภาคใต้                                                                                                                    
ประเพณีแข่งเรือหน้าพระที่นั่ง  และงานของดีเมืองนรา  จังหวัดนราธิวาส
          “สีสันเรือกอและอันคงเอกลักษณ์ จากวิถีชีวิตชาวประมงนำสู่ประเพณีท้องถิ่น  เหล่าฝีพายนับสิบประจำในลำเรือ จากนั้นจึงจ้ำพายสู่หลักชัย  ใครเร็วกว่าคือผู้ชนะ  เสียงปรบมือโห่ร้องส่งกำลังใจจากกองเชียร์ดังรอบ  ภาพบรรยากาศประเพณีแข่งเรือหน้าพระที่นั่ง  และงานของดีเมืองนรา  จึงเต็มไปด้วยสีสันเช่นความงามของลำเรือ

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  พระบรมวงศานุวงศ์  เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์  ทรงเสด็จออกเยี่ยมราษฎร  เพื่อรับฟังปัญหาความทุกข์ร้อนของประชาชน  เป็นที่มาของโครงการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน  ช่วยให้ประชาชนได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข  ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ  ชาวนราธิวาสจึงได้นำเอาการแข่งขันเรือกอและประเพณีไทยอันเก่าแก่ถวายทอดพระเนตรเพื่อเทิดพระเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น  นำไปสู่การปฏิบัติตามประเพณีซึ่งเริ่มจางหายไปให้กลับมาดำรงอยู่อีกครั้ง

ในฤดูน้ำหลาก  วิถีชีวิตของชาวประมงยังคงดำเนิน  ขณะที่อีกด้านถือเป็นโอกาสประชันความแข็งแกร่งของเหล่าฝีพายจากทั่วหมู่บ้าน  ตำบล  เรือกอและหลากสีสันลอยลำเป็นระนาบเดียวกันบนผืนน้ำ  แล้วจึงกระโจนออกไปด้วยแรงสามัคคีจากเหล่าฝีพาย  มุ่งตรงไปยังหลักชัยด้วยจังหวะอันพร้อมเพรียง  ผืนน้ำกระเซ็นเป็นละออง  เพียงแค่อึดใจเดียวผู้เร็วกว่าจึงได้คว้าเอาธงซึ่งถือเป็นหลักชัยมาครอง  และนับเป็นชัยชนะในเที่ยวนั้น




อ้างอิง http://ประเพณีไทยๆ.com/category/ [20พฤศจิกายน2556]

ความสำคัญของประเพณีและวัฒนธรรมไทย ภาคใต้

1.ความสำคัญของประเพณีและวัฒนธรรมไทย ภาคใต้
ความสำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย


วัฒนธรรมประเพณีของชาติ ล้วนแสดงให้เห็นถึงแนวความคิด ความเชื่อ ที่สะท้อนถึงวิถีการดำเนินชีวิต ความเป็นมา ความสำคัญ ซึ่งล้วนเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมของไทย ดังนั้นขนบธรรมเนียมประเพณีไทยจึงมีความสำคัญ พอสรุปได้ดังนี้




1. ความเป็นสิริมงคล ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยนั้น ล้วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและพราหมณ์ พิธีกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานั้น เป็นความเชื่อในเรื่องของความเป็นมงคลแก่ชีวิต

2. ความรักความสามัคคี ความเสียสละ ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นเครื่องฝึกจิตใจให้รู้จักเป็นผู้เสียสละ จะเห็นได้จากงานบุญต่าง ๆ มกเกิดจากการร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกัน เช่น พิธีขนทรายเข้าวัด การก่อพระเจดีย์ทราย ทำให้เกิดความรัก สามัคคี

3. การมีสัมมาคารวะ ถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีไทยอย่างหนึ่ง แสดงถึงความนอบน้อม อ่อนโยน ความมีมารยาทไทย

4. ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ช่วยทำให้คนไทยอยู่ในกรอบที่ดีงาม ถือว่าเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมได้อย่างหนึ่ง

5. ขนบธรรมเนียมประเพณีในแต่ละท้องถิ่น ถึงแม้ว่าจะแตกต่างกัน แต่ทุกคนก็มีความรู้สึกว่าทุกคนเป็นคนไทย มีความเป็นชาติเดียวกัน และสามารถบ่งบอกถึงความเป็นมาของชาติได้
ประเพณีไทย จังหวัดอื่นๆ
 ...ประเพณีปอยข้าวสังฆ์ ...ประเพณีปีใหม่ม้ง ...หน้าที่พลเมือง ...ประเพณีบุญผะเหวด หรือ บุญพระเวสสันดร...

  บทความที่ได้รับความนิยม
 ประเพณีไทยมีอะไรบ้าง
ชาติไทยเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรื่องมาช้านาน มี ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย หลากหลายในสังคมไทยที่เกิดจากความคิด ความเชื่อ ของมนุษย์ที่จะสร้าง...
 ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย
คำว่า  วัฒนธรรม  เป็นภาษาบาลีและสันสกฤต "วัฒน" เป็นภาษาบาลี  แปลว่า "เจริญงอกงาม"  ส่วนคำว่า "ธรรม" เป็นภ...
 ประเพณีทำขวัญข้าวหรือประเพณีทำขวัญแม่โพสพ
ประเพณีทำขวัญข้าว หรือทำขวัญแม่โพสพ ตามความเชื่อที่ว่าแม่โพสพมีพระคุณจึงต้องทำขวัญข้าวเป็นการกล่าวขอขมาต่อต้นข้าวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปล...
 การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยประเพณีไทย
การอนุรักษ์ วัฒนธรรมไทยประเพณีไทย นั้น  ต้องอาศัยความร่วมมือกันของคนไทยทุกคนมีวิธีการ ดังนี้ 1.  ศึกษาค้นคว้า และการวิจัย วัฒนธรรมปร...
 ความสำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
วัฒนธรรมประเพณี ของชาติ ล้วนแสดงให้เห็นถึงแนวความคิด ความเชื่อ ที่สะท้อนถึงวิถีการดำเนินชีวิต ความเป็นมา ความสำคัญ ซึ่งล้วนเป็นส่วนหนึ่งของ...
 บทความล่าสุด



อ้างอิง

http://www.siamtradition.com/2012/12/blog-post_7.html[20พฤศจิกายน2556]